คน ติด Cook : Microplastics ไมโครพลาสติก, เมื่อขยะที่เราทิ้งกลับเข้ามาในวงจรอาหาร

คน ติด Cook - A podcast by Infinity Podcast (ประเทศไทย)

Categories:

สวัสดีจ้า คนติดcook วันนี้ มาคุยกันเรื่องไมโครพลาสติก หลายๆคนน่าจะเคยใช้โฟมล้างหน้าหรือครีมขัดผิวที่มีส่วนผสมของสครับ หรือเม็ดบีดส์ รู้หรือไม่ว่า เม็ดบีดส์พลาสติกขนาดเล็กพวกนี้ สามารถปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำได้ง่าย และไม่ย่อยสลายได้ง่ายๆอีกด้วย แถมยังย้อนกลับเข้ามาในวงจรอาหารที่เราบริโภคเข้าไปอยู่ทุกวัน มาฟังเรื่องของไมโครพลาสติก และ BPA สารประกอบในการผลิตพลาสติกบางชนิดที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆกับมนุษย์กัน ------------ Plastic codes ----------------- รหัสที่ 1 โพลีเอทิลีน เทอพาทาเลท (Polyethylne Terephthalate; PET หรือ PETE) เป็นพลาสติกใส แข็ง ทนแรงกระแทกดี ไม่เปราะแตกง่าย และกันแก๊สซึมผ่านดี เช่น ขวดน้ำอัดลม ขวดน้ำดื่ม ขวดน้ำมันสำหรับทำอาหาร และอื่นๆ เป็นต้น รหัสที่ 2 และรหัส 4 โพลีเอทิลีน มี 2 ชนิดคือ ชนิดความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene; HDPE) เช่น ทัปเปอร์แวร์ ขวดน้ำยาซักผ้า ขวดนม ถังน้ำมันสำหรับยายพาหนะ ขวดเก็ยตัวอย่างคุณภาพน้ำ เป็นต้น ส่วนอีกชนิดคือ มีความหนาแน่นต่ำ (Low Density Polyethylene; LDPE) เช่น ถุงก๊อบแก๊บ ภาชนะบรรจุอาหาร ถุงดำสำหรับใส่ขยะ กระเบื้องปูพื้น และแท่งไม้เทียม เป็นต้น รหัสที่ 3 พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride; PVC) เป็นพลาสติกที่มีพิษมากที่สุดในโลก ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยได้ทุกขั้นตอนในวงจรชีวิต (life cycle) ของ PVC เช่น ภาชนะบรรจุของเล่นเด็ก กล่องอุปกรณ์ต่างๆ ผ้าปูโต๊ะ กระโปร่ง รองเท้า ถุงใส่เลือด แผงหน้าปัดรถยนต์ บานประตู กรวยจราจร เป็นต้น รหัสที่ 5 พอลิโพรพิลีน (Polypropylene; PP) เช่น กล่องของเด็กเล่น ถุงปุ๋ย ไหมเทียม พรม แผ่นรองพรม ผ้าใบกันน้ำ เชือก และสายรัดบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น รหัสที่ 6 พอลีสไตรีน (Polystyrene; PS) เช่น วัสดุช่วยพยุงให้ลอยน้ำ แผ่นฉนวนกันความร้อนในอาคาร ไม้แขวนเสื้อ และม้วนวีดีโอ เป็นต้น รหัสที่ 7 เป็นพลาสติกชนิดอื่นๆ (OTHER) มิได้มีการระบุชื่อจำเพาะ แต่ไม่ใช่พลาสติกชนิดใดชนิดหนึ่งใน 6 ที่ได้กล่าวไปในข้างต้น แต่เป็นพลาสติกที่นำมา หลอมใหม่ได้ ที่มา : จดหมายข่าวส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม www.deqp.go.th/